วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

การแต่งคำประพันธ์


การแต่งคำประพันธ์

การแต่งคำประพันธ์

                การแต่งคำประพันธ์เป็นงานที่ผู้เรียนสามารถนำไปใช้กับอาชีพต่างๆ ได้ โดยจะต้องมีความสามารถในการถ่ายทอดเรื่องราว  ความรู้สึกนึกคิด  อารมณ์ และจินตนาการผ่านตัวอักษรและถ้อยคำที่ไพเราะ  คล้องจองและถูกต้องตามรูปแบบฉันทลักษณ์



ความหมายของคำประพันธ์
                พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  (2542 602)  ได้ให้ความหมายของคำประพันธ์หรือบทร้อยกรองไว้ว่า ถ้อยคำที่เรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์
                แบบเรียนภาษาไทยของกรมการศึกษานอกโรงเรียน  ได้ให้ความหมายของคำประพันธ์ไว้ว่า การนำถ้อยคำมาเรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามที่บัญญัติไว้ในตำราว่าด้วยการแต่งโคลง  ฉันท์ กาพย์  กลอน  และร่าย 
                สรุปได้ว่า  คำประพันธ์ คือ การเรียบเรียงถ้อยคำตามระเบียบฉันลักษณ์
ประเภทของคำประพันธ์
                ประเภทของคำประพันธ์ที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป  มี 5  ประเภท  คือ ร่าย  โคลง  กาพย์ กลอน  และฉันท์
                คำประพันธ์ที่นิยมนำไปประกอบอาชีพต่าง
ๆ มีดังนี้
                1.   ร่าย  เป็นคำประพันธ์ที่แบ่งเป็นวรรค ๆ วรรคละ 5  คำ  มีการส่งสัมผัสระหว่างวรรค
โดยคำสุดท้ายของวรรคต้น  จะส่งสัมผัสไปยังคำที่  1 – 3 ของวรรคถัดไป และจะส่งสัมผัสต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ซึ่งการจบของร่ายจะจบด้วยโคลงสองสุภาพ  ร่ายที่นิยมแต่งมากที่สุด  คือ  ร่ายสุภาพ ซึ่งมีแผนผังบังคับ  ดังนี้


ตัวอย่างร่าย
                จักดำเนินในเบื้อง                เรื่องราชพงศาวดาร            บรรหารเหตุแผ่นภูว์
ชูพระยศเจ้าหล้า                                  อยู่คุ้งฟ้าคุ้งดิน                      เฉกเพลงพิณไพเราะห์
เสนาะโคตรสำนวน                            เป็นศุภสารเสาวนิตย....     ดื่นแสนยากลากลาด
ดาษพลช้างพลม้า                                พอพิรุณแผ้วฟ้า                    จักผ้ายพลจร
(ลิลิตตะเลงพ่าย)
กลวิธีในการแต่งคำประพันธ์ประเภทต่างๆ
กลวิธีในการแต่งร่าย
                การแต่งร่ายมีกลวิธี  ดังนี้
                1.   กำหนดแนวคิดหรือเรื่องราวที่ต้องการสื่อ  โดยวางโครงเรื่องให้เป็นร้อยแก้วธรรมดาเสียก่อน
                2.  เลือกเฟ้นถ้อยคำให้ได้เท่ากับจำนวนคำภายในหนึ่งวรรค
                3.  พิจารณาจังหวะลีลาให้คล้องจองและกลมกลืนกันกับวรรคอื่น
                4.  พิจารณาความหมายให้ตรงประเด็นกับเรื่องราวที่ต้องการสื่อ  หากมีการใช้คำที่ไม่ตรงความหมาย  ให้เลือกเฟ้นถ้อยคำที่มีความหมายตามต้องการ
                5.   ตรวจทานสัมผัสระหว่างวรรคให้ถูกต้อง
                ตัวอย่างการใช้ร่ายในการเขียนเนื้อหาข่าว  รายงานข่าว หรือการวิจารณ์ข่าว เพื่อให้มีลีลาคล้องจองและมีจังหวะดึงดูดความสนใจของผู้ฟังมากกว่าการใช้ร้อยแก้วแบบปกติ  เช่น
                “ประชาชนในย่านนี้    ว่าไปมีหลายประเภท   บางคนเป็นผู้มีการศึกษาดี   มีงานทำ มีหน้ามีตา บางคนอาจเป็นพ่อค้นแม่ขาย บางคนก็เป็นผู้ที่ไปจับจ่ายใช้สอย มีไม่น้อยที่ไม่ใช้สะพานลอยที่สร้างไว้ให้ข้ามถนน  บุคคลเหล่านี้ใช้สะพานลอยเป็นเพียงเครื่องประดับถนน  ยอมเสี่ยงตนกับการถูกรถราเฉี่ยวชน
เดินข้ามถนนใต้สะพานลอย คนจำนวนไม่น้อย มีอยู่ทั่วไปในกรุงเทพในทุกวันนี้...”
(ข่าวเพื่อพัฒนาสังคม  ช่อง 7  สี)
                2.   โคลง เป็นคำประพันธ์ที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น  โคลงมีหลายประเภท  แต่ที่เป็นที่นิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน  คือ โคลงสี่สุภาพ ซึ่งมีแผนผังบังคับ  ดังนี้

ตัวอย่างโคลงสี่สุภาพ
                                                เสียงลือเสียงเล่าอ้าง                            อันใด  พี่เอย
                                เสียงย่อมยอยศใคร                                              ทั่วหล้า
                                สองเขือพี่หลับใหล                                             ลืมตื่น  ฤๅพี่
                                สองพี่คิดเองอ้า                                                    อย่าได้ถามเผือ
                กลวิธีในการแต่งโคลงสี่สุภาพ
                การแต่งโคลงสี่สุภาพมีกลวิธี  ดังนี้
1.            วางโครงเรื่องของเนื้อหาหรือแนวคิดที่ต้องการจะสื่อเป็นร้อยแก้วเสียก่อน
2.            เลือกสรรถ้อยคำ มาเรียงร้อยตามรูปแบบโคลงให้ได้สัมผัสและเอกโทตามที่บังคับ
3.            พิจารณาความหมายให้ตรงกับเนื้อหาหรือแนวคิดที่วางไว้
3.   กาพย์ เป็นคำประพันธ์ที่เกิดขึ้นสมัยอยุธยาตอนกลาง ลักษณะบังคับของกาพย์บังคับจำนวนคำและสัมผัส  กาพย์ซึ่งเป็นที่นิยมกันมาก  คือ กาพย์ยานี  11  เพราะเป็นกาพย์ที่มีลีลาไพเราะ  อ่อนหวาน และเหมาะกับการพรรณนาความ พรรณนาธรรมชาติ พรรณนาอารมณ์และความรู้สึกโศกเศร้า คร่ำครวญ  กาพย์ยานี  11 มีแผนผังบังคับ  ดังนี้


ตัวอย่างกาพย์ยานี 11
                                ขึ้นกกตกทุกข์ยาก                                แสนลำบากจากเวียงชัย
                มันเผือกเลือกเผาไฟ                                           กินผลไม้ได้เป็นแรง
                                รอนรอนอ่อนอัศดง                            พระสุริยงเย็นยอแสง
                ช่วงดังน้ำครั่งแดง                                               แฝงเมฆเขาเงาเมรุธร

กลวิธีในการแต่งกาพย์ยานี 11
การแต่งกาพย์ยานี 11 มีกลวิธีดังนี้
1.            กำหนดแนวคิดและโครงเรื่องให้ชัดเจน
2.            เลือกสรรถ้อยคำให้มีจำนวนและสัมผัสตามแผนผัง
3.            อ่านทบทวนและพิจารณาความหมายให้ตรงประเด็นกับเรื่องราวที่ต้องการสื่อ
4.            วิธีแต่งกาพย์ยานีอย่างง่าย ๆอาจเริ่มที่การฝึกเติมคำให้สัมผัสกัน และให้มีความหมายเข้ากับเนื้อความของคำประพันธ์นั้น
4. กลอน  เป็นคำประพันธ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดประเภทหนึ่ง  เพราะเป็นคำประพันธ์ที่แต่งง่ายและมีความไพเราะ  จำนวนคำของกลอนในวรรคอาจมีตั้งแต่  4 คำ  6  คำ 8  คำ  ซึ่งอนุโลมให้มีจำนวนตั้งแต่  7 – 9 คำก็ได้  และโดยทั่ว ๆ ไป ชาวบ้านมักจะเรียกชื่อกลอนโดยการนำจำนวนคำมาต่อท้าย  เช่น กลอน  4  กลอน 6  กลอน  8 ซึ่งอาจเรียกรวม ๆ ว่า กลอนสุภาพ ซึ่งอนุโลมให้มีจำนวนตั้งแต่  7 –9  คำก็ได้  และโดยทั่ว ๆ ไป ชาวบ้านมักจะเรียกชื่อกลอนโดยการนำจำนวนคำมาต่อท้าย  เช่น กลอน  4  กลอน 6  กลอน  8 ซึ่งอาจเรียกรวม ๆ ว่า กลอนสุภาพ  ซึ่งมีแผนผังดังนี้

แผนผังกลอนสุภาพ
ธารทอง
                                ฟ้าที่นี่แผ้วผ่องก่องประภาส               ริ้วทองลาดแลรอบขอบคิ้วหาว
                น้ำในธารสะท้อนแพรวดั่งแววดาว                    กะพริบพราวเพียงภาพทาบเปลวทอง
                                สำหรับคนบอบช้ำระกำรัก                ที่ทุกข์หนักพักตร์พริ้มมาปริ่มหมอง
                ผู้สูญสิ้นดินฟ้าจะคว้าครอง                               น้ำเนตรนองท่วมฤทัยไร้ญาติมิตร
                   ประยอม ซองทอง

                วิธีแต่งกลอนสุภาพ
                1.  กลอนสุภาพ เค้าโครงและเนื้อหาเป็นร้อยแก้วก่อน
                2.   เลือกคำมาใส่ในวรรค  โดยเรียบเรียงถ้อยคำให้สัมผัสคล้องจองกันตามแผนผัง  และให้เสียงวรรณยุกต์ตรงตามความนิยม  เช่น คำสุดท้ายของวรรครับ นิยมใช้เสียงจัตวา คำสุดท้ายของวรรคสดับ และวรรครอง  นิยมใช้เสียงสามัญ
                3.  พิจารณาความหมายของถ้อยคำที่ใช้ให้ตรงกับความหมายที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อ  หากได้ความหมายที่ยังคลาดเคลื่อนอยู่ ให้เลือกเฟ้นคำที่มีความหมายตรงกันมาใช้แทน  และต้องรักษาสัมผัสด้วย  หากคำนั้นเป็นคำสั่งหรือรับสัมผัส           

                5.   ฉันท์ เป็นคำประพันธ์ที่ไทยรับมาจากอินเดีย ไม่เหมาะสำหรับภาษาไทยนัก เพราะฉันท์บังคับครุลหุ ผู้ที่จะแต่งฉันท์ได้ต้องมีความรู้เกี่ยวกับฉันทลักษณ์ของฉันท์แต่ละชนิดเป็นอย่างดี และผู้ที่จะแต่งฉันท์ได้ดีนั้นก็ต้องเป็นผู้มีความรู้ลึกซึ้งเกี่ยวกับภาษา  และมีศักยภาพในการแต่งคำประพันธ์ ในปัจจุบันกวีไทยมักใช้ฉันท์แต่งบทอาศิรวาทในวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  และสมเด็จพระบรมราชินีนาถเท่านั้น  จะไม่นิยมนำฉันท์มาแต่งให้บุคคลทั่ว ๆ ไป จึงจะไม่กล่าวถึงความรู้เรื่องการแต่งฉันท์กับผู้เรียน  ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่ยากเกินไป

                ตัวอย่างบทอาศิรวาทที่แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทฉันท์
                                สยามรัฐนิราศทุกข์                              ประชาสุขเพราะทรงชัย
                พระเกียรติประจักษ์ไกล                                     นิกรชนเกษมศานต์
                                ประณตเกษประนมกราบ                  ณ  เบื้องบาทพระภูบาล
                ถวายพรพระชนมาน                                          ธ   ยืนยงทรงพระเจริญ
สรุปสาระสำคัญ
                การแต่งคำประพันธ์เป็นการเรียงร้อยถ้อยคำอย่างมีศิลปะให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์คำประพันธ์ประเภทต่าง
ๆ  การศึกษากลวิธีแต่งคำประพันธ์และความเหมาะสมของคำประพันธ์แต่ละประเภทกับการนำไปใช้ จะช่วยให้นักเรียนสามารถนำคำประพันธ์ไปประยุกต์ใช้กับอาชีพได้ อย่างเหมาะสม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น