วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

คำสมาส สนธิ


คำสมาส   คือวิธีการผสมคำของภาษาบาลีและสันสกฤต  ไทยได้นำมาดัดแปลงเป็นวิธีการสมาสแบบไทย โดยมีหลักดังนี้
1.  ต้องเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีหรือสันสกฤตเท่านั้น เช่น ราชการ ราชครู ราชทูต ราชบุตร ราชโอรส
2.  ศัพท์ประกอบไว้ข้างหน้า ศัพท์หลักไว้ข้างหลัง เช่น   สัตโลหะ   โลหะ 7 ชนิด      ภารกิจ   งานที่ต้องทำ  ปฐมเจดีย์        เจดีย์องค์แรก    อุดมศึกษา   การศึกษาขั้นสูง
3.  แปลความหมายจากหลังไปหน้า    เช่น  อักษรศาสตร์  วิชาว่าด้วยตัวหนังสือ     วาทศิลป์  ศิลปะการพูด  ยุทธวิธี  วิชาว่าด้วยการสงคราม   วีรบุรุษ  บุรุษผู้กล้าหาญ
4. ท้ายศัพท์ตัวแรกห้ามใส่สระ อะ และตัวการันต์ เช่น     กิจการ  ไม่ใช่ กิจะการ  ธุรการ  ไม่ใช่  ธุระการ  กาลเทศะ  ไม่ใช่  กาละเทศะ   แพทยศาสตร์  ไม่ใช่  แพทย์ศาสตร์  มนุษยธรรม  ไม่ใช่มนุษย์ธรรม
5. ต้องออกเสียงสระที่ท้ายศัพท์ตัวแรก เช่น อุณหภูมิ  อ่านว่า อุน-หะ-พูม    ประวัติศาสตร์   อ่านว่า ประ-หวัด-ติ-สาด
         ธาตุเจดีย์  อ่านว่าทา-ตุ-เจ-ดี       เกตรกรรม  อ่านว่า กะ-เสด-ตระ-กำ    สิทธิบัตร  อ่านว่า  สิด-ทิ-บัด
ยกเว้น สุขศาลา   ชาตินิยม  ไตรรัตน์  บุรุษเพศ   ชลบุรี  ธนบุรี  ธาตุวิเคราะห์   สุภาพบุรุษ
6. คำว่า  วร  พระ  ตามด้วยภาษาบาลีสันสกฤตถือเป็นคำสมาส เพราะพระ แผลงมาจาก  วร เช่น    วรกาย  วรชายา  วรองค์  วรวิหาร  วรดิตถ์   พระบาท   พระองค์  พระโอษฐ์  พระนาสิก  พระเนตร  พระกรรณ  พระเสโท  พระนลาฏ  พระบัปผาสะ  พระหทัย
ยกเว้นคำว่าพระที่ไปประสมกับคำภาษาอื่นไม่ถือเป็นคำสมาส เช่น พระอู่ (สัน-ไทย)   พระเก้าอี้   (สัน-ไทย)  พระขนง(สัน-เขมร)  พระเขนย
  (สัน-เขมร)  พระสุหร่าย (สัน-เปอร์เซีย)

คำสนธิ  คือการประสมคำของภาษาบาลีสันสกฤต ถือว่าเป็นคำสมาสชนิดหนึ่ง แต่เป็นคำสมาสที่มีการเลี่ยนแปลงรูปศัพท์โดยมี    หลักเกณฑ์ดังนี้
1.      ต้องเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเท่านั้น
2.      ศัพท์ประกอบไว้หน้าศัพท์หลักไว้หลัง
3.      แปลจากหลังไปหน้า
4.      ถ้าเป็นสระสนธิ ศัพท์ตัวหลังจะขึ้นต้นด้วยตัว   อ
5.      มีการเปลี่ยนแปลงรูปศัพท์ตามหลักที่จะกล่าวต่อไป

การสนธิมีอยู่    3   อย่างคือ   สระสนธิ  พยัญชนะสนธิ และนฤตหิตสนธิ

1.      สระสนธิ  คือการนำคำบาลีสันสกฤต      มาสนธิกับคำที่ขึ้นต้ตด้วย สระ มีหลักดังนี้
1.1    ตัดสระท้ายคำหน้า ให้ใช้สระคำหลัง เช่น
หิมะ+อาลัย        ตัด ะ     ใช้   า       สนธิเป็น     หิมาลัย
ชล+อาลัย           ตัด ะ      ใช้   า      สนธิเป็น      ชลาลัย
วชิร+อาวุธ     เป็น  วชิราวุธ             วร+โอกาส    เป็น  วโรกาส
ขีปน+อาวุธ    เป็น   ขีปนาวุธ           ภุช+องค์       เป็น  ภุชงค์
มหา+ไอศวรรย์เป็น    มไหศวรรย์    มหา+อรรณพ  เป็นมหรรณพ
1.2    ตัดสระท้ายคำหน้า ใช้สระหน้าคำหลัง    
ถ้าสระหน้าของคำหลังเป็น  อะ  ให้เปลี่ยนเป็น  อา   เช่น 
     ราช+อธิราช     เป็น     ราชาธิราช
     ประชา+อธิปไตย    เป็น  ประชาธิปไตย
     เทศ+อภิบาล       เป็น   เทศาภิบาล
ถ้าสระหน้าของคำหลังเป็น  อิ     ให้เปลี่ยนเป็น  เอ   เช่น
     ราม+อิศวร      เป็น     ราเมศวร
      ปรม+อินทร์    เป็น    ปรมินทร์
      นร+อินทร์      เป็น     นรินทร์
      มหา+อิสี       เป็น    มเหสี
       นร+อิศวร     เป็น    นเรศวร

ยกเว้น ภูมิ+อินทร์    เป็น  ภูมินทร์                      กรี+อินทร์     เป็น    กรินทร์
            มุนิ+อินทร์    เป็น  มุนินทร์                      โกสี+อินทร์  เป็น   โกสินทร์

ถ้าสระหน้าของคำหลังเป็น   อุ    ให้เปลี่ยนเป็น    อู  หรือ  โอ  เช่น
ราช+อุปโภค   เป็น   ราชูปโภค                ชล+อุทร         เป็น     ชโลธร
     ราช+อุบาย      เป็น    ราโชบาย                ราช+อุปถัมภ์   เป็น  ราชูปถัมภ์
     นย+อุบาย       เป็น     นโยบาย                 คุณ+อุปการ     เป็น   คุณูปการ

ยกเว้น    มัคคุ+อุเทศก์     เป็น   มัคคุเทศก์

       1.3   เปลี่ยนสระที่ท้ายคำหน้า  อิ   อี  เป็น     ย
                                                        อุ   อู  เป็น     ว  
              แล้วจึงสนธิตามหลักในข้อ1.และ2.    
ตัวอย่าง     การเปลี่ยนสระที่ท้ายคำหน้า  อิ   อี  เป็น     ย     เช่น
            รติ+อารมณ์   เปลี่ยน อิ   เป็น   ย   ได้   รตย    สนธิกับ   อารมณ์    เป็น  รตยารมณ์
            มติ+อธิบาย       เป็น   มตย+อธิบาย     สนธิเป็น    มตยาธิบาย
             อัคคี+โอภาส   เป็น   อตย+โอภาส      สนธิเป็น   อัคโยภาส
อธิ+อาศัย         เป็นอธย+อาศัย            สนธิเป็น   อธยาศัย   หรือ  อัธยาศัย

ยกเว้น หัตถี+อาจารย์ เป็นหัตถาจารย์          ศักดิ+อานุภาพ  เป็น  ศักดานุภาพ

ตัวอย่าง     การเปลี่ยนสระที่ท้ายคำหน้า  อุ    อู  เป็น     ว   เช่น
             ธนู+อาคม      เป็น  ธนว+อาคม        สนธิเป็น    ธนวาคม   หรือธันวาคม
             จักขุ+อาพาธ   เป็น จักขว+อาพาธ    สนธิเป็น    จักขวาพาธ
             สินธุ+อานนท์  เป็น  สินธว+อานนท์   สนธิเป็น  สินธวานนท์
2.  พยัญชนะสนธิ   คือคำภาษาบาลี  สันสกฤตที่นำมาสนธิกับพยัญชนะ  มีหลักดังนี้
     2.1  คำที่ลงท้ายด้วย ส   สนธิกับพยัญชนะ  ให้เปลี่ยน ส เป็น  โ   เช่น
            มนัส+ธรรม   เป็น  มโนธรรม         มนัส+มัย   เป็น   มโนมัย
            มนัส+คติ      เป็น   มโนคติ             ศิรัส+เวฐน์   เป็นศิโรเวฐน์
          รหัส+ฐาน     เป็น   รโหฐาน
     2.2  คำที่ขึ้นต้นด้วย   ทุส    และ  นิส  สนธิกับพยัญชนะ   ให้เปลี่ยน  ส   เป็น  ร  เช่น
             ทุส+ชน เป็น  ทุรชนหรือ ทรชน           ทุส+กันดาร   เป็น     ทุรกันดาร
             ทุส+พิษ  เป็น   ทุรพิษหรือ  ทรพิษ       ทุส+กรรม      เป็น      ทุรกรรมหรือทรกรรม
นิส+คุณ  เป็น   นิรคุณ                            นิร+อาศ       เป็น      นิราศ
นิส+เทศ  เป็น   นิรเทศ                            นิส+โทษ     เป็น     นิรโทศ
3.นฤคหิตสนธิ  คือคำบาลีสันสกฤตที่นำมาสนธิกับนฤคหิต  มีหลักดังนี้
3.1  นฤคหิต  สนธิกับสระ เปลี่ยน ๐ เป็นพยัญชนะท้ายวรรคนั้นก่อนการสนธิ เช่น
       สนธิกับวรรค กะ เปลี่ยน   ๐   เป็น  ง   เช่น
                              สํ+กร เป็น สังกร         สํ+เกต เป็น สังเกต      สํ+ขาร    เป็น   สังขาร
      สนธิกับวรรค จะ  เปลี่ยน ๐  เป็น  ญ  เช่น
                  สํ+จร เป็น  สัญจร       สํ+ชาติ เป็น สัญชาติ    สํ+ญา   เป็น  สัญญา
สนธิกับวรรค   ฏะ  เปลี่ยน ๐  เป็น    ณ   เช่น
            สํ+ฐาน   เป็น  สัณฐาน      สํ+ฐิติ    เป็น   สัณฐิติ
สนธิกับวรรค   ตะ  เปลี่ยน ๐  เป็น  น    เช่น
สํ+ดาน  เป็น  สันดาน  สํ+โดษ  เป็น  สันโดษ   สํ+นิวาส  เป็น  สันนิวาส
สนธิกับวรรค   ปะ  เปลี่ยน ๐  เป็น   ม   เช่น
            สํ+บัติ   เป็น  สมบัติ      สํ+บูรณ์    เป็น  สมบูรณ์    สํ+ภพ  เป็น  สมภพ
สนธิกับเศษวรรค      เปลี่ยน ๐  เป็น   ง      ก่อนสนธิเช่น
            สํ+โยค   เป็น สังโยค     สํ+วร   เป็น  สังวร     สํ+หรณ์   เป็น สังหรณ์
 อ้างอิงจาก http://www.kru-ple.com/kumsonti.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น